error error error EPISODE1

(แบบนี้เมามา  นั่งห้องน้ำก็ไม่ต้องกล้วอ้วกอีกต่อไป...)
เพื่อการเเสดงผลที่ดีกว่า

noomsittipong.blogspot.com/
(สำหรับท่านที่ดูบนสมาร์ทโฟนและคอมพิวเตอร์)

อีกlinkของ nation http://oknation.nationtv.tv/blog/BAANbaandrawtobuild
(สำหรับท่านที่ดูในคอมพิวเตอร์)


         ATM ยังเออเร่อ (จากภาพยนต์ATMเออรักเออเร่อค่าย GTH)
แล้ว HOME BUILDER ที่เป็นงาน handmade จะไม่เออเร่อได้อย่างไร?  สิทธิพงษ์  บุญสิงห์ได้กล่าวไว้



ผลงานของบริษัทอีสานพิมานกรุ๊ปจำกัด
ติดตามข้อมูลของบริษัทได้ที่  http://www.pimangroup.com/

เเละ  sittipongnoom.blogspot.com/  (draw to build จากภาพร่างสู่ภาพจริง)
และ  pongnoomsitti.blogspot.com/ (model, gunpla,sketch)


ช่องทางการสื่อสารอื่นๆ(ถ้าอยากคุยกัน)
sittipong.boonsing@gmail.com
id line:  noomsittipongboonsin



       สวัสดีครับผมหนุ่ม  สิทธิพงษ์  สถาปนิก  วันนี้ผมจะมาพูดเรื่องการ error หรือข้อผิดพลาดในงานก่อสร้างโดยจะพูดด้วยภาพนะครับ
จากงานจริงๆที่เราทำ รวมไปถึงข้อควรระวังด้วย  รวบรวมมาใน episode 1 ก่อน สาเหตุที่เกิดมาจากหลายๆสาเหตุ  เอามาเพื่อเเชร์กันเป็นการเรียนรู้  การเรียนรู้จะเกิดจากการผิดครั้งที่สองครับ  บางคนบอกไว้ว่าครั้งเเรกผิดไปเเล้วครั้งที่สองอย่าให้ผิดที่เดิมอีก  เเต่
ผมว่าเมื่อครั้งเเรกเราผิดไปแล้ว ในการทำครั้งที่สองเราก็ยังไม่เเน่ใจว่าใช่เหรอเป็นเพราะแบบนี้จริงๆเหรอ คือยังมีความไม่เชื่ออยู่ในใจ  พอผิดที่จุดเดิมอีกก็  ใช่เลยมั่นใจ เออ จะไม่ทำเเบบนี้อีกแล้วก็ได้  เพราะถ้าทำเเล้วมันจะมีความเสี่ยงที่จะออกมาไม่ดีอีก   เป็นเหมือนผมกันไหมครับ?
       เเน่นอนครับขอขอบคุณผู้ที่เกี่ยวข้องในงานทุกคนนะครับ  ภาพส่วนใหญ่ถ่ายมาจากตอนไปตรวจงานครับ  เเม้ว่าการก่อสร้างจะมีเทคโนโลยีเครื่องจักรเครื่องมือต่างๆที่ช่วยประหยัดเวลา  ลดข้อผิดพลาด  เเต่ในจุดที่ต้องมีเเรงงานคนร่วมด้วยนั้นโอกาสคลาดเคลื่อนก็ย่อมมี  เพราะเราไม่ใช่เครื่องจักรที่จะทำงานได้ตลอดเวลา  ต้องมีเหนื่อยล้า  มีอารมณ์ความรู้สึก  เป็นกำลังใจให้ผู้ปฎิบัติงานทุกท่านนะครับ (รวมทั้งตัวผมเองด้วย)



    
     เริ่มกันเเบบเบาๆ  ม้านั่งทรงลูกบาศก์ที่เห็นเรียงกันห้าก้อนนั้น  ในแบบเป็นทรงกระบอก (ดีนะไม่ทำเป็นทรงพีรามิด ไม่งั้นก็ไม่รู้จะนั่งยังไงเเล้ว)  บางท่านอาจจะมองว่าเเค่นี้เองไม่เห็นจะเป็นไรเลย  ถูกต้องครับ  ผู้ตรวจเองก็มีเกณฑ์ที่ยอมรับได้หรือหลักในการพิจารณาอยู่เเล้วไม่ใช่ว่าต้องทุบทิ้งทำใหม่ทั้งหมด  เช่น  defect(ข้อบกพร่อง)ถ้าเกี่ยวกับโครงสร้าง  ยังมีความเเข็งเเรงไหม?  เกี่ยวกับงานสถาปัตถ์ ก็การใช้งานยังคงได้ดีไหม?  สวยงามไหม?  ราคามีผลกระทบต่อราคาที่จ้างเหมาไหม  ถ้าถูกลงเยอะก็ต้องคืนเงินให้owner  มีผลกระทบ กับสัญญาที่ทำกับลูกค้าไหม  โดยปกติการเทียบเท่าต้องไม่ด้อยไปกว่าเดิม  ผู้ตรวจ (ทีมQC)ก็จะมีเอกสารเรียก  แผนคุณภาพในการตรวจซึ่งจะกำหนดค่าที่ยอมรับได้อยู่เเล้ว ( tolerance )  เเละสุดท้าย defect ต้องถูกรายงานให้ฝ่ายอื่นๆทราบเพื่อให้เข้าใจตรงกันนะ  ตัวอย่างเช่น
ชักโครกรุ่นเดิมที่ใช้โรงงานเลิกผลิตเเล้ว  ฝ่ายจัดซื้อเเจ้งให้ฝ่ายออกแบบหารุ่นอื่นเทียบเท่าให้ (เเน่นอนต้องดีกว่าเเพงกว่าสวยกว่าเดิม)   ฝ่ายออกแบบก็เเจ้งให้ฝ่ายก่อสร้างผู้ควบคุมงานผู้รับเหมาทราบ (ต้องเป็นเอกสารเป็นทางการด้วยนะมีวันที่มีการเซ็นต์อนุมัติ)
เวลาของมาส่งเขาจะได้รับของได้ถูกต้อง   เเละก็เเจ้งให้ฝ่ายขายทราบจะได้นำเสนอให้ลูกค้าทราบได้





ภาพนี้พูดถึงเรื่องครีบครับ  จากรูปโถงทางเข้าหน้าบ้านที่มีเอ็นค.ส.ลเเนวนอนรับแผงก่ออิฐอยู่จะต้องมีเหล็กยึดห้อยกับอะเสด้านบนทุกระยะไม่เกิน 1.20 ม.ช่วยรับน้ำหนักแผงก่อ



ถ้าดูจากภาพนี้จะเห็นอยู่หนึ่งเส้นตรงกลาง


ทำเสร็จเเล้วก็ไม่เห็นอะไร  อาจคิดว่าเป็นเรื่องเล็กน้อย  เเต่ถ้าอยู่นานๆไปการรับน้ำหนักเริ่มไม่ไหวก็เกิดการเเตกร้าวนั้นเอง  เพราะฉะนั้นต้องตรวจให้ดีในตอนงานก่อ  เพราะฉาบไปแล้วก็มองไม่เห็นเเล้ว



เรื่องระยะก็เช่นกันไม่ใช่ว่ามีเเค่เส้นเดียวก็พอ  ถ้ายาวก็ต้องเพิ่ม  ไม่ใช่ขี้เกียจใส่ (ถ้าใส่เเล้วมันจะก่ออิฐยากขึ้น)



จากภาพผนังอิฐที่เหนือครีบโค้งท่าจะหนักเอาการ  มีเหล็กเส้นห้อยช่วยดึงเอ็น ค.ส.ล ระยะไม่เกิน 1.20 ม.  จริงๆน่าจะเพิ่มอีกเส้นเเล้วเเบ่งระยะใหม่เพราะบางช่องน่าจะเกินไปนิดหน่อย  ลองมองที่ก้อนอิฐก็ได้ครับ  อิฐมวลเบาขนาด 20*60 ซ.ม. วางเรียงสองก้อนเต็มเเล้วมีเศษอีกนิดนึง  เเละที่สำคัญอีกจุดคือเหล็กเส้นที่ไปห้อยจากด้านบนนั้น  ต้องเชื่อมติดให้เเน่นห้ามมัดไว้เฉยๆเด็ดขาดเพราะมันจะขยับได้รับน้ำหนักได้ไม่ดี  ผนังจะร้าวได้  



เเล้วสูงขนาดนี้มันร้าวมาเเล้วจะมาซ่อมยังไง  เพิ่มความยากเข้าไปอีก(ต้องตั้งนั่งร้านหลายชั้น)



ต่อมาเป็นเรื่องรั้วล้ม  รั้วกำเเพงระหว่างบ้านสองหลังล้มลงมา  ดีที่ไม่มีใครอยู่ใกล้ๆตอนเกิดเหตุ  สาเหตุเกิดจากบ้านสองหลังนี้ระดับดินต่างกันประมาณ 1.00-1.20 ม.  เเละเราไม่ได้ออกแบบให้เป็นกำ
เเพงกันดิน(คือกำเเพงที่สามารถรับน้ำหนักเเรงดันของดินได้)  เเละลูกค้าก็มาต่อเติมบ้านเองในภายหลังเเบบเต็มพื้นที่  คือชิดกับกำเเพงเลย



ทั้งต่อเติมบ้านเเละตั้งถังเก็บน้ำ  คราวนี้การที่ต่อเติมมาชิดกำเเพง  ฐานรากของงานต่อเติมก็มากดทับท่อระบายรอบบ้านทำให้ท่อเเตก



พอท่อเเตกน้ำแทนที่จะไหลระบายออกไปท่อระบายน้ำสาธารณะหน้าบ้านก็ไหลลงดิน  นานเข้านานเข้าดินก็อ่อน  ฐานรากของรั้วที่ไม่ได้ออกแบบให้กันดินก็ขยับได้เเละล้มพังลงมา








แผ่นรั้วสำเร็จ




ทางโครงการเเก้ไขโดยการทำรั้วกำเเพงกันดินให้ (เป็นเเบบรั้วสำเร็จ)



เเต่ที่น่าเป็นห่วงคือบ้านลูกค้าที่ต่อเติมเอง (หลังจากรับมอบบ้านมาตราฐานจากโครงการไปแล้วนั้น ) ในอนาคตอาจจะทรุดได้  เพราะการต่อเติมที่ไม่ถูกวิธี  ฐานรากขนาดเล็กเเละเทบางเเละยังไปวางบนบ่อพักของท่อระบายน้ำ 





ไปต่อกันเลยครับ  จากภาพฝาของบ่อเก็บน้ำสำรอง( surge tank )ของสระว่ายน้ำไม่น่าจะทำรูปแบบนี้  เพราะมันเกะกะเเละไม่สวย เเต่ว่าไปแล้วก็เข้าตัวเองเพราะ detail ไว้ไม่ละเอียดเอง  ในบางงานที่เรายังไม่เห็นภาพหรือเรายังนึกไม่ออกว่าจะทำยังไง  เราจะเขียนคร่าวๆว่า see shopdrawing  เเล้วผู้รับเหมาอาจจะไม่อยากรอก็เลยทำไปเลยตามความเข้าใจ




อย่าลืม   ติดหิน  หรือวัสดุเเผ่นเล็กๆ  ใช้ปูนกาว (กาวซีเมนต์)  จากรูปใช้ปูนเค็ม (ปูนซีเมนต์ผสมน้ำ)  จะได้ไม่หลุดร่วง



อย่าลืม ช่องเกล็ดไม้ระบายอากาศที่หน้าจั่ว  ตรวจดูให้ดีก่อนปิดฝ้าเพดาน  ( ในเเบบให้ใส่ตาข่ายกันเเมลงเข้า )



เห็นเเท่งสีขาวสองเเท่งตรงกลางไหมครับ  ในเเบบงานโครงสร้างไม่ได้ระบุไว้  พูดง่ายๆว่าไม่มี  คือมันเป็นงานก่ออิฐ  งานสถาปัตย์



(มองจากด้านใน)  เเต่ผู้รับเหมาเห็นว่า ชั้นบนมันไปรับค้ำยันที่รับหลังคาที่ยื่นยาวกว่าปกติ  เลยเทเป็น ค.ส.ล ให้  



เป็นการแถมที่มาพร้อมกับน้ำหนัก   เเต่วิศวกรเช็คเเล้วโอเคก็ไม่เป็นไร



ภาพนี่ให้ดูเสาสองต้นทางซ้ายของภาพนะครับ  ส่วนหลังทางขวาเสาสองต้นเอาไว้รับหลังคา





เเต่สองต้นนี้ไม่มีในเเบบเก็บเอาไว้ก็ไม่ได้เพราะเป็นบ้านแฝดต้องมีที่ว่างด้านข้างบ้านอย่างน้อย 2.00 ม.เลยต้องทุบออก ( สรุปคือผู้รับเหมาคิดว่าเหมือนบ้านข้างๆ  เเต่จริงๆเเล้วเป็นคนละแบบบ้านกัน )



คานที่ดูแปลกๆตรงที่เชื่อมต่างระดับกัน คือเจ้าของบ้านที่เป็นวิศวกร(ระดับสามัญ)ขอปรับเเก้  คุยกันกับวิศวกร( ระดับภาคี)ของฝ่ายออกแบบเเล้วโอเคเข้าใจตรงกัน เป็นเรื่องของการรับเเรงนี่เเหละ




ภาพนี้เป็นเรื่องของบ้านประตูบานคู่หน้าบ้าน  บานไม่ได้ขนาด  คือบางกว่าปกติ  ติดบานพับ4นิ้วเเล้วบานพับโผล่เยอะ  ยึดบานได้ไม่เเข็งเเรงด้วย  จริงๆถ้าไม่ reject บาน ก็ต้องปรับเปลี่ยนขนาดบานพับให้ match กัน









การอ่านแบบที่ไม่ละเอียด เรื่องระดับราวกันตก  แบบนี้มันก็กันตกไม่ได้ซิครับ


ภาพนี้จะบอกว่า กระเบื้องโมเสก (กระเบื้องแผ่นเล็กๆ ) มันสามารถทำให้ช่างต้องหลีกทางให้เลยทีเดียว  ตำเเหน่งการเเขวน hanger สายฉีดชำระเลยไม่อยู่ในตำเเหน่งของมัน  เจาะโมเสกมันให้สวยยากนะเว้ยเฮ้ย (ช่างปูกระเบื้องไม่ได้กล่าวไว้ ) เเต่มันทำให้เราหันกับมาดูที่เเบบ  เพราะเจาะโมเสกมันเเตกง่าย  สถาปนิกชอบเอามาเเต่งในที่ๆมันต้องเจาะเเขวนเช่น  กลางฝักบัวยืนอาบเป็นต้น  โอเคเป็นข้อควรระวังนะ



ท่อน้ำร้อนน้ำเย็นของเครื่องทำน้ำร้อนมันไม่เหมาะกับตำเเหน่งที่จะติดเครื่อง ( ที่มีบล็อกไฟนั้นไง)





งานนี้ช่างอลูมิเนียมต้องคุยกันเเล้ว  ตำเเหน่งติดยางกันกระเเทกมันออกมาไกลไป  ทำให้เสียพื้นที่ช่องเปิดของหน้าต่าง



ภาพนี้เเสดงให้เห็นระดับคานที่ไม่กดระดับลง  ทางเดินเลยมีคานโผล่มาขวาง




ตำเเหน่งติดตั้งตู้โหลดcenter ควบคุมไฟฟ้า  ฝ้าเพดานเหนือตู้จะต้องทำเป็นช่อง service ไว้สำหรับเช็คการเชื่อมต่อสายไฟ  ช่างอาจเเย้งว่าเดี๋ยวผมเจาะทีหลังครับ โอเคก็ยังไม่ได้ว่าอะไร  เป็นข้อควรระวังเพราะบาง case ก็ลืมจนมาพบตอน  FQC




ภาพนี้เตือนผู้ออกแบบเองเลย  บานประตู pump room สระตากเเดดตากฝน อย่าใช้ไม้จริงเลย



บล็อกเเอร์ตำเเหน่งไม่โอเค  ยอมรับผิดเลย  ตอนเขียนลืมดูช่องประตู
ว่าต้องการได้ช่องกระจกกว้างเลยทำช่องเเสงเกือบจรดฝ้าเพดาน  ต้องย้ายบล็อก  ถ้าไม่ย้ายก็จะเห็นสายไฟเดินไปที่แอร์



ภาพนี้เเสดงให้เห็นเรื่องของตำเเหน่งบล็อกเเอร์เช่นกัน  ต้องเช็คระดับพื้นที่หลังวงกบอลูมิเนียมถึงระดับฝ้าเพดาน  ควรมีซัก 0.80 ม. อย่าลืมรางม่านด้วย  ขนาดของเเอร์ด้วย



ผมไม่เเน่ใจว่าใครทำก่อนกัน  ระหว่างถังขยะกับการปักเสาไฟฟ้า งานนี้เเก้ไขโดยปรับบานด้านซ้ายให้เล็กลงให้สามารถเปิดได้  หลังเสาไฟก่ออิฐฉาบปูนทาสี  ( ประมาณ 30ซ.ม. )





ระดับโรงจอดรถสูงมาก  ต้องทำทางลาดขึ้น  สาเหตุมาจากช่างอ้างอิงระดับมาจากตัวบ้านทางด้านขวา  ซึ่งจริงควรเเยกกันไปเลย
จะเดินเข้าบ้านค่อยทำเป็นขั้นบันไดก็ได้



เปิดประตูมาชนมิเตอร์น้ำ ( อาคารหอพัก )


ติดกันชนซะ




ช่างเเอร์ติดตั้ง compressorเเอร์คนละตำเเหน่ง
( ห้อง type แบบเดียวกัน )



การเททางเชื่อมด้านหน้าอาคารกับถนนสาธารณะ  ทำสูงชันเกินไป รถยนต์ยังขึ้นไม่ได้  สาเหตุก็คือช่างทำไปเลยโดยไม่สอบถามหา shopdrawing




เเก้ไขเเล้ว ( รถยังพอเสียบหัวเข้าไปจอดได้บ้าง )โดยการทุบ
ออกเเล้วไปเพิ่มบันได้เข้าอาคารอีกหนึ่งขั้น




ขอปิดท้ายภาพเดียวกับภาพเปิด  จริงๆที่เตรียมไว้ยังมีอีกนิดหน่อย  เเต่ผมรู้สึกเมื่อยเเล้ว( นั่งเขียนมา 4 ชั่วโมงเเล้ว  เลือกภาพอีก 2 ชั่วโมงก่อนหน้านั้น )  คือทุกท่านอาจจะคิดว่าทำไมไม่เซฟไว้เเล้วค่อยมาทำต่อ
คือจริงๆสำหรับตอนนี้ผมทำมาเเล้วหนึ่งคาบ ประมาณหนึ่งชั่วโมง  ผมก็เลยตั้งเป้าว่าอยากจบตอนนี้เเล้ว  ที่เหลือ ไว้ต่อ error episode2
เเล้วกันครับ  จากภาพเป็นเรื่องระยะ กับความต้องการของลูกค้าสถาปนิกต้องเเนะนำให้ลูกค้าทราบว่าทำออกมาเเล้วจะเป็นอย่างไร
หากลูกค้ายังคงมีความต้องการเช่นเดิมก็คงต้องทำให้  ถ้าใช้
งานมาเเล้วไม่สะดวกลูกค้าอาจจะนึกถึงคำเเนะนำของเราก็ได้
เเต่ก็ขึ้นอยู่กับประสบการณ์ของสถาปนิกด้วยว่าจะบอกลูกค้าอย่างไรให้นิ่มนวล  เหตุผล  ข้อดีข้อเสีย  ไม่ใช่เฉพาะเรื่องนี้  รวมไปถึง  การเลือกใช้วัสดุ  การเลือกร้านค้า  สไตล์การออกแบบ  การเเนะนำผู้รับเหมา  เราไม่ต้องการให้ลูกค้ารู้สึกว่าเรายัดเยียดอะไรให้ก็ไม่รู้  ไม่เห็นอยากได้เลย  
เป็นเหมือนผมกันไหมครับ?



ผลงานของบริษัทอีสานพิมานกรุ๊ปจำกัด
ติดตามข้อมูลของบริษัทได้ที่  http://www.pimangroup.com/

เเละ  sittipongnoom.blogspot.com/  (draw to build จากภาพร่างสู่ภาพจริง)
และ  pongnoomsitti.blogspot.com/ (model, gunpla,sketch)


ช่องทางการสื่อสารอื่นๆ(ถ้าอยากคุยกัน)
sittipong.boonsing@gmail.com
id line:  noomsittipongboonsin

ความคิดเห็น