ทำไมเราควรเเยกรอยต่อ(joint)พื้นคอนกรีต

เพื่อการเเสดงผลที่ดีกว่า

noomsittipong.blogspot.com/
(สำหรับท่านที่ดูบนสมาร์ทโฟนและคอมพิวเตอร์)

อีกlinkของ nation http://oknation.nationtv.tv/blog/BAANbaandrawtobuild 

(สำหรับท่านที่ดูในคอมพิวเตอร์)


              สวัสดีครับ  ผมสิทธิพงษ์  บุญสิงห์  วันนี้จะมาคุยกันในเรื่องการเเยก joint (รอยต่อ)ของพื้นคอนกรีต ในงานบ้านพักอาศัยซึ่งหลักๆก็มี  พื้นโรงจอดรถ  พื้นทางเดินข้างบ้าน  เฉลียงข้างบ้านเเละซักล้างเป็นต้น 

ก่อนคุยรายละเอียด  ลองดูซัก case เพื่อปูพื้นความเข้าใจนะครับ
จากภาพด้านบนเมื่อเราเลี้ยวขวาจะเจอกับพื้นส่วนซักล้าง

บ้านหลังนี่มีครัวอยู่หน้าบ้าน  ที่วงไว้คือพื้นซักล้าง ระดับ+0.15 ม. ต่างจากพื้นโรงรถเล็กน้อย(โรงรถระดับ +0.10 ม.) ออกแบบเป็นพื้น GS GROUND SLAB หรือ SG SLAB ON GROUND(ก็ความหมายเดียวกันนะครับ)  คือน้ำหนักของพื้นคอนกรีตจะถ่ายลงที่ดิน  ให้ดินรับน้ำหนัก

จะเห็นได้ว่าพื้นดินบริเวณบ้านเริ่มมีการทรุด





บริเวณหลังบ้านก็มีการทรุดเป็นหย่อมๆ  อาจเกิดได้หลายสาเหตุเช่นบดอัดไม่ดีหรืออื่นๆ



ทรุดจนเกิดเป็นรู


พอเราเทพื้นไปชิดผนังบ้าน พื้นทรุดขึ้นมาก็จะดึงให้ผนังเเตกร้าวไปด้วย  ยิ่งถ้าเราเอาเหล็กไปเชื่อมต่อกับตัวบ้านด้วยเเล้วก็ยิ่งจะทำให้เกิดการเเตกร้าวที่มากขึ้น


เมื่อได้คุยกับวิศวกรถึงเรื่องเเนวทางการออกแบบโครงสร้างที่มารับส่วนต่างๆเหล่านี้ก็ได้ข้อสรุปมาว่า
1.function พื้นส่วนนั้นทำอะไร
เช่นซักล้าง  ต้องมีน้ำในการใช้งานบ่อยๆถ้าเทแยก(joint)รอยต่อเเบบเเยกกันชัดๆซักประมาณ10cm  น้ำก็จะซึมลงไปด้านล่างทำให้ดินข้างล่างทรุดอีก  หรือถ้าส่วนนี้จะทำเป็นห้องในอนาคตอยู่เเล้วก็อาจจะตอกเสาเข็มเผื่อให้ไว้เลยเป็นต้น
2.ระดับพื้น
ถ้าสูงก็ควรทำเป็นคานออกมารับ  ถ้าขนาดกว้างมากก็อาจจะต้องตอกเสาเข็มช่วยรับน้ำหนักเหมือนตัวบ้านเลย
3.งบประมาณ(ลูกค้ารับได้เเค่ไหน) 
ถ้าบ้านราคาประหยัดมากๆการทำคานออกมารับ  หรือตอกเสาเข็มช่วยก็จะสิ้นเปลืองมากขึ้น

ดู case ต่อไปเป็นเฉลียงข้างบ้าน ที่ยื่นออกมาถึง 2 m เเละระดับก็สูงถึง 40 cm วิศวกรจึงออกแบบเป็นพื้นGS(ถ่ายน้ำหนักลงดิน)ที่มีคานมาล้อมรอบ แบบไม่มีเสาเข็มช่วยรับน้ำหนัก เเต่ด้วยน้ำหนักของคานเองก็มีการทรุดเเละดึงผนังก่อหลอกให้เเตกร้าว















ต่อมาเป็นการเทพื้นคอนกรีต ที่เเยกรอยต่อด้วยโฟม เเต่โฟร์เเมนของผู้รับเหมาอาจเข้าใจไม่ตรงกันกับที่เราบอก



ลูกค้าเทพื้นปูกระเบื้องรอบบ้านเพื่อใช้เก็บของ  หลังนี้วงรอบที่ดินคลาดเคลื่อน  ตัวบ้านเลยชิดเเนวเขตที่ดินไปหน่อย


พอเห็นเป็นโฟมเเล้วดูไม่สวยงาม



จริงๆเเล้วให้เเยกรอยต่อด้วยโฟมตอนเทคอนกรีต  เเต่ตอนจะปูกระเบื้องสามารถขยับเข้าไปชิดผนังได้อีกเว้นไว้เล็กน้อยด้วยปูนยาเเนว  (บางท่านอาจเคยเห็นที่ใช้โฟมเส้นอุดรอยต่อเเล้วใช้ซิลิโคน
อุดด้านบน  เเต่ผมยังไม่เคยเห็นการทำจริงๆเลยไม่ได้ใช้วิธีนี้)


พอผู้รับเหมามาเห็นก็ว่ามันไม่สวย  เลยให้โฟร์เเมน(ของผู้รับเหมา)เอาโฟมออกเเล้วใช้ปูนยาเเนวลงไปแทน 



ลองราดน้ำ testความลาดเอียง เพื่อไม่ให้น้ำขัง(ถ้าขังก็รื้อเเก้)



caseต่อมาเป็นทางเดินข้างบ้านที่เทไปชิดผนัง  พอพื้นทรุดก็ดึงให้เสาก่อหลอกเเตก  เเก้ไขโดยทุบพื้นเทใหม่แบบเเยกjoint ระดับสูง20cm เลยเทบนดินเป็นพื้น GS



ดึงให้ผนังของเสาก่อหลอกเเตกขนาดนี้เลย







ส่วนเฉลียงด้านข้างของหลังนี้ยังไม่เกิดผลกระทบมากนัก



CASE สุดท้ายเป็นข้อสรุปล่าสุดที่เราใช้จากการรวบรวมปัญหาที่ผ่านมา
เฉลียงหลังบ้านสูง 40cm เราทำคานเเละตอกเสาเข็มเผื่อไว้เลย(เผื่อลูกค้าต่อเป็นในอนาคตยังได้)


พื้นเฉลียงเป็นแบบวางเเผ่นพื้นน้ำหนักถ่ายลงที่คาน  ไม่ได้ถ่ายลงที่ดิน (เพราะเผื่อต่อเติมเป็นห้อง)











ส่วนทางเดินข้างบ้านเเละพื้นโรงจอดรถเป็นพื้นเทบนดินเเต่เเยกjoint ไม่ให้ติดกับตัวบ้าน  เวลาทรุดตัวจะได้ไม่ไปดึงผนังบ้านให้เเตกร้าว
และเเก้ไขก็เเค่รื้อพื้นเเก้ไขง่ายเพราะไม่ไปยุ่งกับผนัง



ซักล้างเป็นพื้นเทให้คานรับน้ำหนัก อย่างที่บอกว่าต้องถูกน้ำบ่อย  ถ้าเเยกjoint เเล้วเดี๋ยวน้ำลงไปด้านดินอ่อนตัวคานจะทรุด






ทางเดินข้างบ้านเเยกjoint 10 cm โรยกรวดเเม่น้ำสีขาว(เอาสีอื่นก็ได้นะครับสีน้ำผึ้งก็สวย)





ขอบคุณข้อมูลจากผู้เกี่ยวข้องทุกท่านครับ  พบกันใหม่ตอนหน้า
สวัสดีครับ


..........................................................................................

ติดตามข้อมูลของบริษัทได้ที่  http://www.pimangroup.com/
บล็อกอื่นๆ  sittipongnoom.blogspot.com/  (draw to build จากภาพร่างสู่ภาพจริง)
และ  pongnoomsitti.blogspot.com(model figure sketch)กันพลา
อีกlinkครับของ nation http://oknation.nationtv.tv/blog/BAANbaandrawtobuild

sittipong.boonsing@gmail.com

ความคิดเห็น