บ้าน2ชั้น ห้องหับหลายห้อง 6นอน5น้ำ ซักรีด ครัว ทานอาหารฯลฯ (ผังS4เฟส4N/งานเก่าปี2551/พื้นที่291ตรม.)


เพื่อการเเสดงผลที่ดีกว่า

noomsittipong.blogspot.com/
(สำหรับท่านที่ดูบนสมาร์ทโฟนและคอมพิวเตอร์)

อีกlinkของ nation http://oknation.nationtv.tv/blog/BAANbaandrawtobuild
(สำหรับท่านที่ดูในคอมพิวเตอร์)


       สวัสดีครับ  ผมสิทธิพงษ์  บุญสิงห์วันนี้เอางานเมื่อปี2551มาลงเพื่อให้เป็นข้อมูลเเก่ผู้สนใจเเละเก็บเป็นฐานข้อมูลไว้  ตัวงานเป็นบ้านสองชั้นที่เน้น function การใช้งานเเยกสัดส่วนเป็นห้องๆ  ห้องพักผ่อน ห้องเด็กเล่น  ห้องทานอาหาร  ห้องซักรีด ฯลฯ  ลูกค้าเป็นภรรยาคนไทยที่มีคุณสามีเป็นชาวต่างชาติ  ที่ต้องการคุณภาพงานก่อสร้างที่ได้มาตราฐานแบบประเทศเขาด้วย


sectionการจัดทำเเบบ (คุยกันเบื้องต้นเรื่องแบบก่อน)


รูปร่างของ site ที่ดินเป็นสี่เหลี่ยมผืนผ้า หน้าบ้านหันไปทางด้านทิศใต้  เบื้องต้นลูกค้าต้องการ function ห้องนอนเเละห้องน้ำจำนวนมากเพราะมีลูกหลายคน  เลยทำเผื่อไว้เเยกห้องในอนาคต  โรงจอดรถเดิมถูกเปลี่ยนเป็นห้องพักผ่อน  เนื่องจากมีที่ดินกว้าง จึงไปทำโรงรถเเยกต่างหากเเละทำที่เก็บของขนาดใหญ่ไว้ที่โรงรถด้วย  ในตอนเเรกมี requirement ให้ทำห้องนอนด้านล่างด้วย



ชั้นบนห้าห้องนอนสามห้องน้ำ ห้องนอนใหญ่มีระเบียงออกมานั่งเล่นพักผ่อน  ชมวิวหน้าบ้าน  ในงานอื่นๆเคยได้ถกกันถึงเรื่องมีระเบียงชั้นบนดีไหม  หรือมีก็ไม่ค่อยได้ใช้กลายเป็นที่ตั้ง compressorเเอร์
เฉยๆ  ผมว่ามันก็ขึ้นบริเวณรอบๆบ้าน  เเต่ส่วนมากด้านหน้าบ้านจะมีวิวที่ดีกว่าด้านอื่น(กรณีบ้านจัดสรร)  ได้ออกมานั่งเล่น  มองไปไกลๆก็ผ่อนคลายได้ดีครับ



แปลนที่ปรับล่าสุดจะเป็นแบบนี้

ห้องพักผ่อน2  ห้องเด็กเล่นและห้องทานอาหารมีเฉลียงที่เชื่อมให้ออกมานอกบ้านได้  ห้องอาหารเเละห้องครัวเปิดเชื่อมกัน 
เเน่นอนตามเเบบครัวฝรั่ง

ชั้นบนคงเดิม  ไม่เปลี่ยนแปลงจากเเบบเดิมที่ร่างไว้ตอนเเรก



 งาน sketch up (ในสมัย2551)
ขอบคุณ  คุณเกษฎา  กางอินทร์เดช น้องสถาปนิกที่เเผนก  สำหรับ sketchup presentation ที่เคยได้ร่วมงานกันในปีนั้นครับ

ที่มีรถยนต์จอดอยู่คือบริเวณที่จะทำโรงจอดรถในภายหลัง  เราก็ลอง plot ขนาดลงใน site ที่ดินดู  เเละลูกค้าจะลงสระว่ายน้ำสำเร็จรูปด้วย  ก็เลยวางลงไปให้ดูด้วย







spec วัสดุเบื้องต้น



VERSIONภาษาอังกฤษ(เนื่องจากลูกค้าเป็นชาวต่างประเทศ)




หลายๆอย่างที่ลูกค้าขอใช้วัสดุที่สูงกว่า สเปคมาตราฐานที่เราใช้ในบริษัทเช่น อิฐมาลเบาที่ขนาดก้อนหนาขึ้น  สเปคสีเกรดดีขึ้น(ไอซีไอเพนทาไลท์) งานประตูหน้าต่างที่เป็นอลูมิเนียมอบสีขาวก็ใช้เป็น upvc winsor ซึ่งสมัยนั้นเเพงกว่ากันเป็นสามเท่าเป็นต้น


เนื่องจากบ้านหลังนี้ใช้วัสดุหลายชนิดเช่นอิฐมวลเบาหนา20cmมีค่าการถ่ายเทความร้อนเข้าอาคารต่ำ  เเละการวางทิศทางอาคารเข้าในเกณฑ์ประหยัดพลังงาน  บริษัทเลยขอลูกค้านำไปส่งประกวดของกระทรวงพลังงาน

เอกสารชุดนำเสนอ  ตอนส่งแบบของบ้านหลังนี้ไปประกวดบ้านจัดสรรอนุรักษ์พลังงาน 2551ของกระทรวงพลังงาน
(ได้รางวัลระดับชมเชย)
 




















...

sectionก่อสร้างจริง









ผนังบ้านใช้อิฐมวลเบา  ซึ่งใช้ขนาดความหนา 20cm กันความร้อนได้ดี  เเต่ที่ผมชอบคือมันกว้างเท่าหน้าเสาเลย  ทำให้บ้านเรียบไม่เห็นเหลี่ยมเสา (ปกติที่ใช้กันความหนา 7.5cm)





หลังคาเป็นกระเบื้องคอนกรีต  (ซีเเพคโมเนีย์)ลอนเซนจูเรียน สีเเดงกุหลาบ  ซึ่งเป็นรุ่นยอดนิยมที่ SCG ทำออกมานานมากๆเเล้ว  เเต่ลูกค้าชอบเพราะบ้านหลังเดิมของลูกค้าก็ใช้เเบบนี้  ผมว่ามันเป็นความผูกพัน  ที่ทำให้ครอบครัวรู้สึกถึงช่วงเวลาในบ้านหลังเดิมที่อยู่กันมานาน  เเละจะนำมันไปสู่บ้านหลังใหม่ของเขาด้วย


หลังคาจั่วทั้งจั่วหน้าเเละจั่วหลัง  หน้าจั่วใส่เกล็ดระบายอากาศให้มีการถ่ายเท  เข้าเเละออก  ส่วนเกล็ดก็ให้ทำเกล็ดให้ใหญ่ให้กันละอองฝนได้บ้าง  เเต่พายุมาคงกันไม่ได้  ปัจจัยอื่นๆเช่นทิศทางของลมพายุฝน  การยื่นชายคาก็ช่วยอีกเเรง



ขุดดินเพื่อทำสระว่ายน้ำ  แบบสำเร็จรูป(ระบบสกิมเมอร์)











กรอกคอนกรีตลงไปในแบบ















ซุ้มประตูทางเข้าบ้าน  หรือประตูเล็กเข้าบ้าน









ระเเนงไม้(ด้านขวาบน)  เป็นส่วนตกเเต่งเพราะปกติหลังคาแบบหน้าจั่วจะดูโล่งไป   ส่วนที่เห็นหน้าต่างห้องนอนด้านบนซ้าย  เป็นห้องนอนของลูกที่ยังเล็กอยู่ ลูกค้ากล้วเด็กจะตกจากหน้าต่าง  เลยให้ทำเป็นบายติดตายไว้ด้านล่างบานเปิด(กระทุ้ง)ไว้ด้านบน  เเละsection หน้าต่างของ winsorกระจกเเข็งเเรงมาก  ผู้ใหญ่กระเเทกก็ไม่เเตก




ฝ้าเพดานของชายคาทั้งหมดใช้เป็นชนิดมีรูระบายอากาศ ช่วยถ่ายเทความร้อนจากใต้หลังคา  ซึ่งย่อมระบายได้ดีกว่าใส่เล็กน้อยตามมุมชายคา


ถ้างานฉาบปูนผนังทำได้ดีแล้ว ใช้สีสเปคสูงยิ่งช่วยส่งเสริมให้ผนังเรียบเนียน 



ส่วนทานอาหารเชื่อมกับครัว  ทำซุ้มผนังให้รู้สึกเเยกเป็นสัดส่วน  ถ้าบ้านโมเดิร์นสมัยนี้มักจะทำให้โล่งยาวตลอด  (เเละทำฝ้าหลุมแบบหลืบเน้นส่วนพักผ่อน)





แสงธรรมชาติจากโถงบันได




ลูกตั้งลูกนอนบันไดในตอนนั้น  น่าจะเป็นไม้เเดงเพราะสเปคโครงการเป็นไม้เเดง


ส่วนนอนในห้องนอนใหญ่  หัวเตียงหันไปทางทิศตะวันออก











พื้นชั้นบนขัดมันไว้เนื่องจากลูกค้าจะปูพรม












เชื่อมภายในภายนอกด้วยเฉลียง











งานออกแบบรั้ว  ใช้ไม้จริง  และให้มีขนาดเเละการยื่นสูงต่ำเพื่อให้เหมือนรั้วบ้านในชนบท มาจากวลีที่ว่า  ผักสวนครัวรั้วกินได้(ตอนนั้นคิดเเละบอกลูกค้าอย่างนี้จริงๆ  ไม่รู้เหมือนไหม)



ประตูเลื่อนก็ล้อกันไปกับรั้ว  การยึดระหว่างไม้กับเหล็กใช้การเจาะรูเเล้วขันน็อต  เพื่อโชว์หัวน็อตให้เห็นชัดๆ



ซุ้มประตูเข้าบ้านทำเป็นบานเปิดคู่  เหมือนประตูในชนบท


ส่วนพักผ่อนใช้หน้าต่างบานยาว  เพื่อให้โล่งเป็นพิเศษ





บริเวณที่จะตั้งเครื่องกรองน้ำเเละปั๊มน้ำ





















หม้อต้มน้ำร้อน



















ตำเเหน่งติดตั้งหม้อต้มน้ำร้อน


การวาง compressor แอร์




อ่างอาบน้ำถ้ามีระบบน้ำวน  มีการใช้มอเตอร์  ต้องอย่าลืมทำช่อง service ไว้ด้วย



วิวที่มองจากระเบียงห้องนอนใหญ่



ภาพนี้ถ่ายมาจากบ้านหลังอื่นที่กำลังก่อสร้าง


ลูกค้าต้องการติดตั้งรางน้ำupvcด้วย







 ภาพถ่ายที่เเสดงให้เห็น  โรงจอดรถเเยกจากตัวบ้าน  ที่ลูกค้าทำเพิ่มเติมในภายหลัง  มีโอกาสได้มาถ่ายไว้เมื่อตอนพาคณะอาจารย์เเละนักศึกษาปริญญโทมาดูงานในปี2552



 เห็นไกลๆหลังคาสีเเดง  ก็คือตัวบ้านเเละโรงจอดรถเเยกต่างหาก  ตอนส่งตรวจบ้านงวดสุดท้าย FQC ยังไม่ได้ทำโรงจอดรถ


จบด้วยภาพอาจารย์เเละนักศึกษาปริญญาโท(เเละลูกอาจารย์ด้วย)  จากคณะสถาปัตย์มหาวิทยาลัยสุภานุวงศ์หลวงพระบางมาดูงาน  เมื่อ4มิย52  มากับเจ้าหน้าที่คณะสถาปัตย์มหาวิทยาลัยขอนเเก่น  (ซึ่งช่วงนั้นผมเรียนป.โทอยู่ที่คณะด้วย)

จริงๆคือดูหลังอื่นเเต่มายืนอยู่หน้าบ้านหลังนี้พอดี

พบกันใหม่ตอนหน้าสวัสดีครับ

..........................................................................................

ติดตามข้อมูลของบริษัทได้ที่  http://www.pimangroup.com/
บล็อกอื่นๆ  sittipongnoom.blogspot.com/  (draw to build จากภาพร่างสู่ภาพจริง)
และ  pongnoomsitti.blogspot.com/  (model figure sketch)กันพลา

อีกlinkครับของ nation http://oknation.nationtv.tv/blog/BAANbaandrawtobuild  

(บล็อกนี้ดูในคอมพิวเตอร์จะเเสดงผลได้ครบถ้วนกว่าสมาร์ทโฟน)

(อยากสอบถามพูดคุย) sittipong.boonsing@gmail.com

ความคิดเห็น